วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ไผ่สีสุก


ไผ่สีสุก 
  
หมายถึง มีความสุขกายสบายใจ ไร้ทุกข์โศกโรคภัย

ข้อมูลทางวิชาการ
 


เป็นไม้ไผ่ประเภทมีหนาม ความยาวลำต้นสูง 
10 - 18 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 - 12 เซนติเมตร
 แข็ง ผิวเรียบเป็นมัน ข้อไม่พองออกมา กิ่งมากแตก
ตั้งฉากกับลำต้น หนามโค้งออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3 อัน
อันกลางยาวกว่าเพื่อน ลำมีรูเล็กเนื้อหนา ใบมีจำนวน
 5 - 6 ใบ ที่ปลายกิ่ง ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเป็นรูป
ลิ่มกว้าง ๆ หรือตัดตรง แผ่นใบกว้าง 0.8 - 2 เซนติเมตร
 ยาว 10 - 20 เซนติเมตร ใต้ใบมีสีเขียวอมเหลือง
 เส้นลายใบมี 5 - 9 คู่ ก้านใบสั้น ขอบใบสาก คลีบใบเล็กมีขน

นิเวศวิทยา 


  เชื่อกันว่าเป็นไม้ดั้งเดิมในหมู่เกาะอินเดียตะวันออก 
หรือหมู่เกาะแปซิฟิคตอนใต้ ในประเทศไทย
 มักจะขึ้นอยู่ตามที่ราบลุ่มริมห้วย แม่น้ำ และมักปลูกรอบ ๆ บ้านในชนบท

ขยายพันธุ์ 


  ปักชำ ใช้ท่อนไม้ไผ่มาตัดทอนเป็นท่อน ๆ 
ให้ติดปล้อง 1 ปล้อง (ข้อตา) นำมาปักไว้ในวัสดุชำ
 เอียงประมาณ 45 องศา เรียงเป็นแถวเป็นแนวเดียวกัน
เพื่อสะดวกในการดูแลรักษา เติมน้ำลงในกระบอกไม้ไผ่ให้เต็ม
 ประมาณ 4 สัปดาห์ หน่อจะแตกออกจากตาไม้ไผ่ และราก
จะงอกออกจากปุ่มใต้ตา หรือถ้าตัดทอนท่อนไม้ไผ่ให้ตัดข้อตา
 2 ข้อ แล้วเจาะตรงกลางระหว่างข้อตา สำหรับเติมน้ำลงไป
ในปล้อง นำไปวางนอนในวัสดุชำแนวราบก็ได้เช่นกัน

ประโยชน์ 


  สมัยก่อนมักปลูกไว้รอบบ้านเป็นรั้วกันขโมย กันลม
 หน่อเมื่ออยู่ใต้ดินทำอาหารได้มีรสดี เมื่อโผล่พ้นดิน
ประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร มักเอาไปทำหน่อไม้ดอง 
จะให้รสเปรี้ยว สีขาว และเก็บได้นาน โดยไม่เปื่อยเหมือน
หน่อไม้ชนิดอื่น เนื้อไม้หนาแข็งแรง ใช้สร้างบ้าน
ในชนบทได้ทนทาน ทำเครื่องจักสาน เครื่องใช้ในการประมง
 ใช้ในการทำนั่งร้านก่อสร้าง ส่วนโคนนิยมใช้ทำไม้
คานหาบหามและใช้ทำกระดาษให้เนื้อเยื่อสู

ไม้ทองหลาง


ไม้ทองหลาง 

 หมายถึง การมีทรัพย์สินเงิน มีเงินทองใช้ไม่ขัดสน

ข้อมูลทางวิชา

 การไม้ต้น ผลัดใบ สูง 5 - 10 เมตร 
ตามกิ่งต้นอ่อนมีหนาม เรือนยอดเป็นพุ่มกลม โปร่ง

นิเวศวิทยา  


พบทั่วไปในย่านเอเชียเขตร้อนและอบอุ่น

ออกดอก 


 มกราคม - กุมภาพันธุ์ 

ขยายพันธุ์  


โดยเมล็ดและปักชำ  

ประโยชน์ 

ปลูกเป็นไม้ประดับ

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ราชพฤกษ์

                                              



หมายถึง ความเป็นใหญ่และมีอำนาจวาสนา

ข้อมูลทางวิชาการ

ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 8 - 15 เมตร
นิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิดเอเชียแถบร้อน 
ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้งทั่วไป
ออกดอก กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม ทิ้งใบก่อนออกดอก

ขยายพันธุ์ 

โดยเมล็ด วิธีการเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ นำเมล็ดมา
ตัดหรือทำให้เกิด บาดแผลที่ปลายเมล็ดแล้ว แช่น้ำไว้
 12 ชั่วโมง หรือแช่กรดซัลฟูริคเข้มข้น 1.84 ประมาณ 
15 นาที แล้วล้างน้ำให้สะอาด แช่น้ำทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง 
วิธีนี้สะดวกแต่อันตราย และอีกวิธีหนึ่งคือ ต้มน้ำให้เดือด
แล้วเทลงในเมล็ด ทิ้งไว้ข้ามคืน ทั้ง 2 วิธีนี้จะทำ 
ให้เมล็ดดูดน้ำเข้าไปและพร้อมที่จะงอก
วิธีเพาะ อาจหยอดลงในถุงดินที่เตรียมไว้หรือจะเพาะ
ในแปลงเพาะแล้วย้ายชำกล้าในภายหลัง ควรให้เมล็ดอยู่
ใต้ผิวดิน 3-5 มิลลิเมตร รดน้ำให้ชุ่ม เมล็ดจะงอกภายใน 1-2 สัปดาห์

ประโยชน์ 
ราก ฝนทาแก้กลาก เป็นยาระบาย รากและแก่น
เป็นยาขับพยาธิ เปลือกและไม้ใช้ฟอกหนัง
 และใช้บดทาผื่นตามร่างกาย เนื้อไม้สีแดงแกมเหลืองทนทาน
ใช้ทำเสา ล้อเกวียน ใบต้มกินเป็นยาระบาย ดอกแก้ไข้
 ฝักเนื้อในรสหวาน เป็นยาระบาย ช่วยบรรเทาการแน่นหน้าอก แก้ขัดข้อ


ไม้ขนุน




 หมายถึง หนุนให้ดีขึ้นร่ำรวยขึ้น ทำอะไรจะมีผู้ให้การเกื้อหนุน

ข้อมูลทางวิชาการ

ไม้ต้น ขนาดใหญ่ สูง 15 - 30 เมตร ลำต้นและกิ่ง
เมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล
นิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดียเป็นพืช
เศรษฐกิจเมืองร้อนที่ให้ผลมีขนาดใหญ่ที่สุดสามารถ 
บริโภคทั้งผลดิบและผลสุก นอกจากนี้ยังนำไป
แปรรูปเป็นอาหารชนิดต่างๆ มีปลูกทั่วทุกภาคของประเทศไทย

ออกดอก 
จะออกปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม และเมษายน
 - พฤษภาคมขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด ติดตา และทาบกิ่ง

ประโยชน์  

ผลอ่อน ใช้ปรุงอาหาร ผลสุกเยื่อหุ้มเมล็ดมีรสหวาน
 เมล็ดปรุงอาหาร เนื้อไม้ ใช้ทำพื้นเรือนและสิ่งก่อสร้าง 
ครก สากกระเดื่อง หวี โทน รำมะนา ระนาด รากและแก่น
 ให้สีเหลือง ถึงเหลืองอมน้ำตาล ใช้ย้อมผ้าและแพรไหม
 รากนำมาปรุงเป็นยาแก้ท้องร่วง แก้ไข้ ใบ เผาไฟกับ
ซังข้าวโพดให้ดำเป็นถ่าน แล้วใส่รวมกับก้นกะลามะพร้าวขูด
 โรยรักษาบาดแผล