วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ไผ่สีสุก


ไผ่สีสุก 
  
หมายถึง มีความสุขกายสบายใจ ไร้ทุกข์โศกโรคภัย

ข้อมูลทางวิชาการ
 


เป็นไม้ไผ่ประเภทมีหนาม ความยาวลำต้นสูง 
10 - 18 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 - 12 เซนติเมตร
 แข็ง ผิวเรียบเป็นมัน ข้อไม่พองออกมา กิ่งมากแตก
ตั้งฉากกับลำต้น หนามโค้งออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3 อัน
อันกลางยาวกว่าเพื่อน ลำมีรูเล็กเนื้อหนา ใบมีจำนวน
 5 - 6 ใบ ที่ปลายกิ่ง ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเป็นรูป
ลิ่มกว้าง ๆ หรือตัดตรง แผ่นใบกว้าง 0.8 - 2 เซนติเมตร
 ยาว 10 - 20 เซนติเมตร ใต้ใบมีสีเขียวอมเหลือง
 เส้นลายใบมี 5 - 9 คู่ ก้านใบสั้น ขอบใบสาก คลีบใบเล็กมีขน

นิเวศวิทยา 


  เชื่อกันว่าเป็นไม้ดั้งเดิมในหมู่เกาะอินเดียตะวันออก 
หรือหมู่เกาะแปซิฟิคตอนใต้ ในประเทศไทย
 มักจะขึ้นอยู่ตามที่ราบลุ่มริมห้วย แม่น้ำ และมักปลูกรอบ ๆ บ้านในชนบท

ขยายพันธุ์ 


  ปักชำ ใช้ท่อนไม้ไผ่มาตัดทอนเป็นท่อน ๆ 
ให้ติดปล้อง 1 ปล้อง (ข้อตา) นำมาปักไว้ในวัสดุชำ
 เอียงประมาณ 45 องศา เรียงเป็นแถวเป็นแนวเดียวกัน
เพื่อสะดวกในการดูแลรักษา เติมน้ำลงในกระบอกไม้ไผ่ให้เต็ม
 ประมาณ 4 สัปดาห์ หน่อจะแตกออกจากตาไม้ไผ่ และราก
จะงอกออกจากปุ่มใต้ตา หรือถ้าตัดทอนท่อนไม้ไผ่ให้ตัดข้อตา
 2 ข้อ แล้วเจาะตรงกลางระหว่างข้อตา สำหรับเติมน้ำลงไป
ในปล้อง นำไปวางนอนในวัสดุชำแนวราบก็ได้เช่นกัน

ประโยชน์ 


  สมัยก่อนมักปลูกไว้รอบบ้านเป็นรั้วกันขโมย กันลม
 หน่อเมื่ออยู่ใต้ดินทำอาหารได้มีรสดี เมื่อโผล่พ้นดิน
ประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร มักเอาไปทำหน่อไม้ดอง 
จะให้รสเปรี้ยว สีขาว และเก็บได้นาน โดยไม่เปื่อยเหมือน
หน่อไม้ชนิดอื่น เนื้อไม้หนาแข็งแรง ใช้สร้างบ้าน
ในชนบทได้ทนทาน ทำเครื่องจักสาน เครื่องใช้ในการประมง
 ใช้ในการทำนั่งร้านก่อสร้าง ส่วนโคนนิยมใช้ทำไม้
คานหาบหามและใช้ทำกระดาษให้เนื้อเยื่อสู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น